Adobe Photoshop CS6
คุณสมบัติพื้นฐานของโปรแกรม
โปรแกรม Photo shop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่มนิยมสูงมากในขณะนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพต่าง
เราสามารถเรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop นี้ได้ด้วยตัวเอง คุณสามารถที่จะทำการแก้ไขภาพ ตกแต่งภาพ ซ้อนภาพในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การใส่ข้อความประกอบลงในภาพด้วย และเนื่องด้วย Adobe Photoshop มีการพัฒนาโปรแกรมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราจำเป็นต้องศึกษาคำสั่งต่างๆ ให้เข้าใจ แต่ที่สำคัญ เมื่อคุณเรียนรู้การใช้คำสั่งในเวอร์ชั่นเก่า คุณก็ยังคงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้ด้วยค่ะ
ความสามารถพื้นฐานของ Adobe Photoshop ที่ควรทราบ
- ตกแต่งหรือแก้ไขรูปภาพ
- ตัดต่อภาพบางส่วน หรือที่เรียกว่า crop ภาพ
- เปลี่ยนแปลงสีของภาพ จากสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่งได้
- สามารถลากเส้น แบบฟรีสไตล์ หรือใส่รูปภาพ สี่เหลี่ยม วงกลม หรือสร้างภาพได้อย่างอิสระ
- มีการแบ่งชั้นของภาพเป็น Layer สามารถเคลื่อนย้ายภาพได้เป็นอิสระต่อกัน
- การทำ cloning ภาพ หรือการทำภาพซ้ำในรูปภาพเดียวกัน
- เพิ่มเติมข้อความ ใส่ effect ของข้อความได้
- Brush หรือแปรงทาสี ที่สามารถเลือกรูปแบบสำเร็จรูปในการสร้างภาพได้และอื่นๆ อีกมากมาย
แหล่งที่มา http://teacherjaray.blogspot.com/2014/05/blog-post.html
ขั้นพื้นฐาน (basic)
โปรแกรม Photoshop CS6 มีส่วนสำคัญหลักที่ต้องทำความรู้จัก :
1. เมนูของโปรแกรม Application Menu
2. เมนูของพื้นที่ทำงาน Panel Menu
3. เครืองมือใช้งาน Tool และ ส่วนควบคุมการใช้เครื่องมือ Tool Contorl Menu
1. เมนูของโปรแกรม Application Menu
2. เมนูของพื้นที่ทำงาน Panel Menu
3. เครืองมือใช้งาน Tool และ ส่วนควบคุมการใช้เครื่องมือ Tool Contorl Menu
รูปด้านล่างเป็นหน้าตาของโปรแกรม ได้แสดงส่วนสำคัญหลักต่างๆ ไว้ให้เห็น สำหรับรายละเอียดของแต่ละส่วน จะแสดงให้เห็นในการสอนแต่ละบทความ ซึ่งจะดีกว่า และเข้าใจมากกว่า เพราะไม่ต้องการให้ท่องจำ ว่าส่วนนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ประมาณนั้น เรียนรู้จารการใช้งานจริงดีกว่า
เปิดภาพแบบ Window
วิธีกำหนดค่าการเปิดแสดงภาพ โดยไปที่ Preference ของโปรแกรม Photoshop กำหนดค่า Interface โดยเลือกที่ช่อง Open Document as Tabs ซึ่งเป็นการกำหนดเพื่อให้เปิดแสดงภาพในรูปแบบของ Tabs ถ้าเราไม่เลือกช่องนี้ ภาพที่เปิดจะแสดงเป็นแบบ Window
การซูมภาพ :
โปรแกรม Photoshop CS6 มีลักษณะพิเศษของการซูมภาพได้หลายวิธี รวมถึงความสะดวกในการใช้คีย์ลัดเพื่อทำการซูม เข้า หรือ ออก ก็ตาม
การซูมออก (Zoom Out) ภาพจะเล็กลง
- โปรแกรมเมนู View เลือก Zoom out
- การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl + minus sign (เครื่องหมาย -)
- เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z + Alt ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยน เป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมออกตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย ภาพจะทำซูมออกแบบต่อเนื่อง
- กดปุ่ม Alt + Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
- กดปุ่ม Alt + Scroll Downward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ลง)
- การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมออก ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่าง ซ้ายมือ แล้วกด Enter
- กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย
การซูมเข้า (Zoom In) ภาพจะใหญ่ขึน
- โปรแกรมเมนู View - Zoom in
- การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl - plus (เครื่องหมาย +)
- เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมเข้าตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ภาพจะทำซูมเข้าแบบต่อเนื่อง
- กดปุ่ม Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
- กดปุ่ม Alt + Scroll Upward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ขึ้น)
- การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมเข้า ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่างซ้ายมือ - แล้วกด Enter
- กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา
เทคนิค กดปุ่ม Ctrl + 0 = คำสั่งให้ภาพแสดงเป็น fit on screen หรือพอดีกับหน้าจอภาพ, กดปุ่ม Ctrl + 1 = คำสั่งให้แสดงขนาดจริงของภาพเท่ากับ 100%
การเลื่อนภาพ (Scrolling and Panning Image) :
เมื่อมีการซูมภาพ แน่นอนว่าต้องมีการเลื่อนภาพให้ส่วนที่เราต้องการเห็นมาแสดงให้เหมาะสม วิธีการทำมีได้หลายแบบด้วยกัน
- ลูกกลิ้งของเม้าส์ เลื่อนขึ้น สำหรับการเลื่อนภาพขึ้น และกลับกัน
- ลูกกลิ้งของเม้าส์ + กดปุ่ม Ctrl สำหรับการเลื่อนภาพแนวนอน ถ้าเลื่อนขึ้นจะเป็นการเลื่อนภาพไปทางขวา และกลับกัน
- เครื่องมือ Hand Tool (ไอคอนรูปมือที่แสดงบนแถบเครื่องมือ) หรือ กดคีย์ลัด H เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
- กดปุ่ม Space Bar ค้างไว้ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
- Bird Eye View เป็นเครื่องมือซึ่งใช้ในกรณีพิเศษ เป็นการใช้ขณะที่เราทำการขยายภาพใหญ่มากๆ เพื่อดูเฉพาะจุดนั้น แล้วต้องการเปลี่ยนจุดที่ต้องการดูไปยังจุดอื่น ให้คลิกเครื่องมือ Hand Tool หรือ กด H คลิกเม้าส์ค้างไว้ที่ภาพ เม้าส์จะมีสัญญลักษณ์สี่เหลี่ยมแสดงขึ้นล้อมรอบเม้าส์ พร้อมทั้งภาพจะลดขนาดลงไปให้เราเห็นทั้งภาพ ทำการเลื่อนเม้าส์ไปยังจุดที่เราต้องการดู ปล่อยเม้าส์ ภาพจะขยายขึ้นมาตามขนาดเดิม และส่วนที่เราเลือกจะอยู่กึ่งกลางหน้าจอทำงานพอดี
การปรับหน้าจอแสดงภาพ (Screen Mode) :
จอแสดงภาพของโปรแกรม Photoshop CS6 มีด้วยกัน 3 แบบ การเลือกแต่ละแบบทำได้โดย คลิกที่ไอคอน Change Screen Mode (รูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองรูป) ที่แถบเครื่องมือ หรือ จะกดคีย์ลัด F ก็ได้ กด F แต่ละครั้งจอแสดงภาพก็จะเปลี่ยนสลับกันไปแบบเดินหน้า ถ้าต้องการย้อนการแสดงจอภาพ ให้กด Shift + F
รูปแบบของจอแสดงภาพ ได้แก่ Standard Screen, Full Screen mode with Menu bar, Full Screen
ขณะที่อยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่งของจอแสดงภาพ ยังสามารถที่จะสั่งให้แสดง หรือ ซ่อน แถบเครื่องมือ และ แถบ Panel ได้อีกด้วย โดยการใช้ปุ่มต่างๆ ดังนี้
- กดปุ่ม Tab เป็นการซ่อน แถบเครื่องมือ แผงควบคุมเครื่องมือ และ แถบ Panel กด Tab อีกครั้งเป็นการเปิดขึ้นมาจากการซ่อน
- กดปุ่ม Shift + Tab เป็นการซ่อนแถบ Panel อย่างเดียว กดอีกครั้งเป็นเปิดขึ้นมาจากการซ่อน
การปรับขนาด Layer Thumbnail :
วิธีนี้ใช้เพื่อให้เหมาะกับการทำงาน เช่น ถ้าขนาด thumbnail มีขนาดเล็ก การมองภาพหรือรายละเอียดของ thumbnail จะยากกว่าขนาดที่ใหญ่ แต่ถ้างานชิ้นที่ทำนั้นมี เลเยอร์ (layer) มาก ก็จำเป็นที่จะต้องปรับขนาดให้เล็กลง
วิธีปรับขนาด Thumbnail แต่ละชิ้นงาน ทำได้โดย คลิกขวาบนพื้นที่ว่างของเลเยอร์ panel (ไม่ใช่ที่ตัวเลเยอร์) แล้วทำการเลือกขนาด ซึ่งมี 3 ขนาด คือ Small Medium and Large
วิธีปรับขนาด Thumbnail ให้กับทุกชิ้นงาน ทำได้โดยคลิกที่ลูกศรคว่ำบนแถบเลเยอร์ เลือก panel option แล้วคลิกเลือกขนาดที่ต้องการ
ขนาดและความละเอียดของภาพ (Image and Resolution)
รู รูปภาพ ประกอบด้วยจำนวนพิกเซลมากมาย ยิ่งภาพนั้นมีความละเอียดมากเท่าไร ภาพนั้นก็มีความชัดเจนมากขึ้น แต่แน่นอนขนาดของภาพก็จะใหญ่ขึ้นตามกัน
วิธีคำนวณจำนวนพิกเซลของภาพ ใช้ ขนาดความกว้าง (pixel) x ขนาดความสูง (pixel) จะได้จำนวนพิกเซลรวม สำหรับความละเอียดของภาพ (Resolution) ดูได้จากจำนวนพิกเซลรวมกันต่อขนาดพื้นที่ เช่น 300 pixel per inch (PPI) ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์
โปรแกรม Photoshop สามารถกำหนดขนาดของภาพ และความละเอียดได้ขณะที่สร้างงานใหม่ขึ้นมา สามารถกำหนดขนาด Width and Height เป็น Pixels, Inches, Centimeters, Millimeters, Points, Picas, Columns
หน้าเริ่มต้นการตั้งค่าชิ้นงาน

หน้าเริ่มต้นการตั้งค่าชิ้นงาน
เทคนิคการบันทึกงานแต่ละประเภท (Saving )
การบันทึกงานแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น บันทึกเป็นไฟล์งาน Photoshop (PSD), TIFF, PNG, JPEG
เพื่อให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภททจะนำไปใช้ต่อไป
บันทึกงานเป็นไฟล์ PSD การทำงานในโปรแกรม Photoshop จะมีการปรับแต่งหลายแบบ เมื่อทำการบันทึก ต้องให้แน่ใจว่าได้เลือกสิ่งที่ได้ปรับแต่งไว้ในงานประเภทต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น Layer, Alpha channel และ อื่นๆ แต่อย่าลืมดูให้แน่ใจว่าช่อง As a copy จะต้องไม่ถูกเลือก อีกอย่างเพื่อประหยัดเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ ไม่ต้องทำเครื่องหมายเลือกที่ช่อง Maximize compatibility ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้นำไฟล์นี้ไปใช้กับ Photoshop ตระกูลอื่นเช่น Photoshop Lightroom เป็นต้น
บันทึกงานเป็นไฟล์ TIFF (สำหรับงานพิมพ์) ก่อนบันทึกงาน ให้ทำการรวมเลเยอร์ให้เป็น Flat Layer ก่อน เพื่อลดขนาดไฟล์ เพราะไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่อย่าลืมขณะบันทึกต้องแน่ใจว่าได้เลือกที่ช่อง Layer ไว้ด้วย กรณีนี้จะสามารถเปิดไฟล์เพื่อมาแก้ไขในโปรแกรม Photoshop ได้อีก แต่ถ้าแน่ใจว่าไม่ต้องการกลับมาแก้ไขอีก ให้บันทึกโดยไม่ต้องเลือกช่อง Layer และให้กำหนดค่าใน TIFF Option แทนเพื่อให้เหมาะกับความต้องการ
บันทึกงานเป็นไฟล์ PNG การบันทึกงานประเภทนี้จะมีขนาดไฟล์ที่ค่อนข้างเล็ก แต่ไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขใน Photoshop ได้อีก เหมาะกับงานประเภทที่ใช้แสดงผลบนเว็ปไซด์
บันทึกงานเป็นไฟล์ JPEG ไฟล์ประเภทนี้จะให้ภาพที่ค่อนข้างสวยงาม แต่ก็จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่พอสมควร ก่อนที่จะบันทึกก็ลองปรับค่าคุณภาพของภาพตามประเภทของงานที่จะนำไปใช้ สามารถปรับได้ตั้งแต่ 0 - 12 เรียงจากความละเอียดของภาพจากน้อยไปหามาก
แหล่งที่ทา http://giveuwblog.blogspot.com/2012/11/photoshop-cs6-basic.html
เปิดภาพแบบ Window
การซูมภาพ :
โปรแกรม Photoshop CS6 มีลักษณะพิเศษของการซูมภาพได้หลายวิธี รวมถึงความสะดวกในการใช้คีย์ลัดเพื่อทำการซูม เข้า หรือ ออก ก็ตาม
การซูมออก (Zoom Out) ภาพจะเล็กลง
- โปรแกรมเมนู View เลือก Zoom out
- การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl + minus sign (เครื่องหมาย -)
- เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z + Alt ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยน เป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมออกตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย ภาพจะทำซูมออกแบบต่อเนื่อง
- กดปุ่ม Alt + Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
- กดปุ่ม Alt + Scroll Downward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ลง)
- การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมออก ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่าง ซ้ายมือ แล้วกด Enter
- กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย
การซูมเข้า (Zoom In) ภาพจะใหญ่ขึน
- โปรแกรมเมนู View - Zoom in
- การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl - plus (เครื่องหมาย +)
- เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมเข้าตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ภาพจะทำซูมเข้าแบบต่อเนื่อง
- กดปุ่ม Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
- กดปุ่ม Alt + Scroll Upward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ขึ้น)
- การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมเข้า ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่างซ้ายมือ - แล้วกด Enter
- กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา
เทคนิค กดปุ่ม Ctrl + 0 = คำสั่งให้ภาพแสดงเป็น fit on screen หรือพอดีกับหน้าจอภาพ, กดปุ่ม Ctrl + 1 = คำสั่งให้แสดงขนาดจริงของภาพเท่ากับ 100%
การเลื่อนภาพ (Scrolling and Panning Image) :
เมื่อมีการซูมภาพ แน่นอนว่าต้องมีการเลื่อนภาพให้ส่วนที่เราต้องการเห็นมาแสดงให้เหมาะสม วิธีการทำมีได้หลายแบบด้วยกัน
- ลูกกลิ้งของเม้าส์ เลื่อนขึ้น สำหรับการเลื่อนภาพขึ้น และกลับกัน
- ลูกกลิ้งของเม้าส์ + กดปุ่ม Ctrl สำหรับการเลื่อนภาพแนวนอน ถ้าเลื่อนขึ้นจะเป็นการเลื่อนภาพไปทางขวา และกลับกัน
- เครื่องมือ Hand Tool (ไอคอนรูปมือที่แสดงบนแถบเครื่องมือ) หรือ กดคีย์ลัด H เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
- กดปุ่ม Space Bar ค้างไว้ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
- Bird Eye View เป็นเครื่องมือซึ่งใช้ในกรณีพิเศษ เป็นการใช้ขณะที่เราทำการขยายภาพใหญ่มากๆ เพื่อดูเฉพาะจุดนั้น แล้วต้องการเปลี่ยนจุดที่ต้องการดูไปยังจุดอื่น ให้คลิกเครื่องมือ Hand Tool หรือ กด H คลิกเม้าส์ค้างไว้ที่ภาพ เม้าส์จะมีสัญญลักษณ์สี่เหลี่ยมแสดงขึ้นล้อมรอบเม้าส์ พร้อมทั้งภาพจะลดขนาดลงไปให้เราเห็นทั้งภาพ ทำการเลื่อนเม้าส์ไปยังจุดที่เราต้องการดู ปล่อยเม้าส์ ภาพจะขยายขึ้นมาตามขนาดเดิม และส่วนที่เราเลือกจะอยู่กึ่งกลางหน้าจอทำงานพอดี
การปรับหน้าจอแสดงภาพ (Screen Mode) :
จอแสดงภาพของโปรแกรม Photoshop CS6 มีด้วยกัน 3 แบบ การเลือกแต่ละแบบทำได้โดย คลิกที่ไอคอน Change Screen Mode (รูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองรูป) ที่แถบเครื่องมือ หรือ จะกดคีย์ลัด F ก็ได้ กด F แต่ละครั้งจอแสดงภาพก็จะเปลี่ยนสลับกันไปแบบเดินหน้า ถ้าต้องการย้อนการแสดงจอภาพ ให้กด Shift + F
รูปแบบของจอแสดงภาพ ได้แก่ Standard Screen, Full Screen mode with Menu bar, Full Screen
ขณะที่อยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่งของจอแสดงภาพ ยังสามารถที่จะสั่งให้แสดง หรือ ซ่อน แถบเครื่องมือ และ แถบ Panel ได้อีกด้วย โดยการใช้ปุ่มต่างๆ ดังนี้
- กดปุ่ม Tab เป็นการซ่อน แถบเครื่องมือ แผงควบคุมเครื่องมือ และ แถบ Panel กด Tab อีกครั้งเป็นการเปิดขึ้นมาจากการซ่อน
- กดปุ่ม Shift + Tab เป็นการซ่อนแถบ Panel อย่างเดียว กดอีกครั้งเป็นเปิดขึ้นมาจากการซ่อน
การปรับขนาด Layer Thumbnail :
วิธีนี้ใช้เพื่อให้เหมาะกับการทำงาน เช่น ถ้าขนาด thumbnail มีขนาดเล็ก การมองภาพหรือรายละเอียดของ thumbnail จะยากกว่าขนาดที่ใหญ่ แต่ถ้างานชิ้นที่ทำนั้นมี เลเยอร์ (layer) มาก ก็จำเป็นที่จะต้องปรับขนาดให้เล็กลง
วิธีปรับขนาด Thumbnail แต่ละชิ้นงาน ทำได้โดย คลิกขวาบนพื้นที่ว่างของเลเยอร์ panel (ไม่ใช่ที่ตัวเลเยอร์) แล้วทำการเลือกขนาด ซึ่งมี 3 ขนาด คือ Small Medium and Large
วิธีปรับขนาด Thumbnail ให้กับทุกชิ้นงาน ทำได้โดยคลิกที่ลูกศรคว่ำบนแถบเลเยอร์ เลือก panel option แล้วคลิกเลือกขนาดที่ต้องการ
ขนาดและความละเอียดของภาพ (Image and Resolution)
รู รูปภาพ ประกอบด้วยจำนวนพิกเซลมากมาย ยิ่งภาพนั้นมีความละเอียดมากเท่าไร ภาพนั้นก็มีความชัดเจนมากขึ้น แต่แน่นอนขนาดของภาพก็จะใหญ่ขึ้นตามกัน
วิธีคำนวณจำนวนพิกเซลของภาพ ใช้ ขนาดความกว้าง (pixel) x ขนาดความสูง (pixel) จะได้จำนวนพิกเซลรวม สำหรับความละเอียดของภาพ (Resolution) ดูได้จากจำนวนพิกเซลรวมกันต่อขนาดพื้นที่ เช่น 300 pixel per inch (PPI) ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์
โปรแกรม Photoshop สามารถกำหนดขนาดของภาพ และความละเอียดได้ขณะที่สร้างงานใหม่ขึ้นมา สามารถกำหนดขนาด Width and Height เป็น Pixels, Inches, Centimeters, Millimeters, Points, Picas, Columns
หน้าเริ่มต้นการตั้งค่าชิ้นงาน
หน้าเริ่มต้นการตั้งค่าชิ้นงาน
เทคนิคการบันทึกงานแต่ละประเภท (Saving )
การบันทึกงานแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น บันทึกเป็นไฟล์งาน Photoshop (PSD), TIFF, PNG, JPEG
เพื่อให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภททจะนำไปใช้ต่อไป
บันทึกงานเป็นไฟล์ PSD การทำงานในโปรแกรม Photoshop จะมีการปรับแต่งหลายแบบ เมื่อทำการบันทึก ต้องให้แน่ใจว่าได้เลือกสิ่งที่ได้ปรับแต่งไว้ในงานประเภทต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น Layer, Alpha channel และ อื่นๆ แต่อย่าลืมดูให้แน่ใจว่าช่อง As a copy จะต้องไม่ถูกเลือก อีกอย่างเพื่อประหยัดเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ ไม่ต้องทำเครื่องหมายเลือกที่ช่อง Maximize compatibility ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้นำไฟล์นี้ไปใช้กับ Photoshop ตระกูลอื่นเช่น Photoshop Lightroom เป็นต้น
บันทึกงานเป็นไฟล์ TIFF (สำหรับงานพิมพ์) ก่อนบันทึกงาน ให้ทำการรวมเลเยอร์ให้เป็น Flat Layer ก่อน เพื่อลดขนาดไฟล์ เพราะไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่อย่าลืมขณะบันทึกต้องแน่ใจว่าได้เลือกที่ช่อง Layer ไว้ด้วย กรณีนี้จะสามารถเปิดไฟล์เพื่อมาแก้ไขในโปรแกรม Photoshop ได้อีก แต่ถ้าแน่ใจว่าไม่ต้องการกลับมาแก้ไขอีก ให้บันทึกโดยไม่ต้องเลือกช่อง Layer และให้กำหนดค่าใน TIFF Option แทนเพื่อให้เหมาะกับความต้องการ
บันทึกงานเป็นไฟล์ PNG การบันทึกงานประเภทนี้จะมีขนาดไฟล์ที่ค่อนข้างเล็ก แต่ไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขใน Photoshop ได้อีก เหมาะกับงานประเภทที่ใช้แสดงผลบนเว็ปไซด์
บันทึกงานเป็นไฟล์ JPEG ไฟล์ประเภทนี้จะให้ภาพที่ค่อนข้างสวยงาม แต่ก็จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่พอสมควร ก่อนที่จะบันทึกก็ลองปรับค่าคุณภาพของภาพตามประเภทของงานที่จะนำไปใช้ สามารถปรับได้ตั้งแต่ 0 - 12 เรียงจากความละเอียดของภาพจากน้อยไปหามาก
แหล่งที่ทา http://giveuwblog.blogspot.com/2012/11/photoshop-cs6-basic.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น